ความรู้เรื่อง อัญมณี

วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2552 เขียนโดย Admin 2 ความคิดเห็น

อัญมณี หรือ เพชรพลอยและสินค้าเครื่องประดับที่ส่งออกของไทยประกอบด้วยเครื่องประดับทองเครื่องประดับเงิน และเครื่องประดับจากโลหะมีค่าชนิดอื่นๆ เช่น ทองคำขาว เป็นต้น นอกจากนี้ อัญมณียังสามารถแบ่งเป็นชนิด ตามการค้นพบได้หลากหลาย มีความงดงามแตกต่างกันไป ดังนี้ เพชร มรกต ทับทิม บุศราคัม โกเมน นิล มุกดาหาร เพทาย ไพฑูรย์ หยก โอปอ และในปัจจุบันยังมีการค้นพบ แซฟไฟร์ ควอทซ์ อะความารีน เบริล คริสตอล เป็นต้น


ทิบทิมและไพลิน (RUBY AND SAPPHIRE) เป็นอัญมณีชนิดที่พบมากมีค่าและราคาสูง ทำรายได้ให้กับประเทศมากที่สุดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน อัญมณีทั้งสองชนิดนี้จัดเป็นแร่อยู่ในประเภทแร่คอรันดัมหรือกะรุนในภาษาไทย คำเดิมมาจากภาษาทมิฬ (kurun dum) หรือมาจากภาษาสันสกฤต (korund of karund) ruby มาจากภาษาลาติน (ruber or rubeus) หมายถึง สีแดง ส่วน sapphire มาจากภาษาลาติน (sapphirus) หรือภาษากรีก (sappheiros ) หมายถึง สีน้ำเงิน ผลึกแร่อยู่ในระบบเฮกซะโกนาล (Hexagonal) รูปผลึกที่พบม ากมีลักษณะเป็นแท่งยาวหกเหลี่ยมป่องตรงกลางคล้ายถังเบียร์ มีความโปร่งใสถึงทึบแสง ส่วนประกอบทางเคมีเป็นอะลูมิเนียมออกไซด์ (A12O3 ) ภายในเนื้อแร่มักมีธาตุชนิดอื่นปนเป็นมลทิน เช่น Cr , Fe , Ti , V เป็นต้น ซึ่งมลทินธาตุเหล่านี้ที่เป็นตัวทำให้คอรันดัมม ีสีแตกต่างกันออกไปในแต่ละชนิด เช่น Cr ทำให้เกิดสีแดง เรียกว่า ทับทิม Ti และ Fe ทำให้เกิดสีน้ำเงินเรียกว่า ไพลิน เป็นต้น คอรันดัมมีค่าความแข็งเท่ากับ ๙ ความถ่วงจำเพาะประมาณ ๔ มีความวาวคล้ายแก้วถึงคล้ายเพชร มีค่าดัชนีหักเหแสง ๒ ค่า และมีสีแฝดเกิดได้ ๒ สี คอรันดัมเกิดขึ้นได้ในหินชนิดต่าง ๆ หลายชนิด สำหรับในประเทศไทยพบเกิดในบริเวณหินภูเขาไฟชนิดบะ ซอลต์ ซึ่งมักพบในลักษณะผุพังจากหินต้นกำเนิดเดิมมาแล้ว (Secondary deposits) ทั้งที่เป็นแบบผุพังอยู่กับที่ในดินบะซอลต์ (Residual b asaltic deposits) และแบบถูกนำพาเคลื่อนที่ไปสะสมที่อื่น ๆ ตามลำห้วย แม่น้ำ ลำธาร ลำคลอง ท้องน้ำ และบริเวณที่ราบลุ่ม เรียกว่า แบบ ลานแร่ (Placer) มีการผลิตแร่ด้วยเทคนิควิธีการแบบชาวบ้าน ไปจนถึงใช้เทคนิคเครื่องมือและวิธีการที่ทันสมัย


โกเมน (GARNET) โกเมนที่พบเป็นชนิดสีแดง ทั้งชนิดไพโรป และแอลมันไดต์ ซึ่งมีระดับสีแดงต่าง ๆ เช่น แดงอมดำ แดงอมน้ำตาล แดงอมม่วง แดงอมส้ม เป็นต้น การ์เนตจัดเป็นกลุ่มแร่หนึ่ง ผลึกแร่อยู่ในระบบไอโซเมทริก รูปผลึกที่พบกันมา กมีลักษณะกลมคล้ายลูกตะกร้อ โปร่งแสงถึงทึบแสง มีส่วนประกอบทางเคมีเป็นแร่กลุ่มซิลิเกตกับธาตุเหล็กหรืออะลูมิเนียมกับธาตุอื่น ๆ อีกหลายชนิด มีความแข็ง ๗ - ๗.๕ ความถ่วงจำเพาะ ๓.๗๘ - ๔.๑๕ มีค่าดัชนีหักเหแสงค่าเดียว มีความวาวเหมือนแก้ว แหล่ง ที่พบมักเกิดร่วมกับพลอยคอรันดัมในแหล่งต่าง ๆ เช่น อำเภอเมือง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี อำเภอบ่อไร่ อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด อำเภอแกลง จังหวัดระยอง อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี อำเภอขุนหาญ จังหวัด ศรีสะเกษ อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นต้น


เพทาย (ZIRCON) เป็นอัญมณีที่ได้รับความนิยมอย่างมากในอดีตของไทยถึงกับเรียกว่า "เพชรไทย" จัดเป็นแร่ที่มีผลึกอยู่ในระบบเททระโกนาล รูปผลึกที่พบกันมาก มีลักษณะเป็นแท่งสี่เหลี่ยมยาว ปลายแหลม ลักษณะโปร่งแสงถึงโปร่งใส ส่วนใหญ่มีสีออกไ ปทางส ีน้ำตาลต่าง ๆ มีส่วนประกอบทางเคมีเป็นเซอร์โคเนียมซิลิเกต (ZrSiO4) มีความแข็ง ๖ - ๗.๕ ความถ่วงจำเพาะ ๓.๙๐ - ๔.๗๑ มีค่าดัชนีหักเหแสง ๒ ค่า มีความวาวและมีค่าการกระจายแสงสูงใกล้เพชรมาก แหล่งที่พบก็มักเกิดร่วมเป็นเพื่อนพลอยคอรันดัม ตามแหล่งต่ าง ๆ เช่น อำเภอเมือง อำเภอขลุง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเ กษ เป็นต้น โดยมากแล้วเพทายมักจะนำไปเผา ให้มีความใสมากขึ้นหรือทำให้เปลี่ยนเป็นสีขาว เหลือง ฟ้า แล้วจึงนำไปเจียระไน โดยเฉพาะชนิดสีขาวใส เมื่อเจียระไนแล้วจะมีลักษณะคล้ายเพชรมาก


ควอตซ์ (QUARTZ) พบทั้งในชนิดที่เป็นเนื้อผลึก (Crysalline quartz) และชนิดเนื้อเนียนละเอียด (Crypto - crystalline quartz) เป็นแร่อยู่ในระบบผลึกเฮกซะโกนาล รูปผลึกที่พบมาก มีลักษณะเป็นแท่งหกเหลี่ยมยาวปลายแหลมปิดหัวท้ายผลึก มีสีต่ าง ๆ เช่น สีชมพู (Rose quartz) สีม่วง (Amethyst) สีควันไฟ (Smoky quartz) หินผลึกขาวใส (Rock crystal) ผลึกขาวใสที่มีมลทินแร่ชนิดอื่นอยู่ภายในเ นื้อ เช่น รูไทล์ ทัวร์มาลีน คลอไรต์ ไมกา ฮีมาไทยต์ เป็นต้น ที่เรียกกันว่าแก้วโป่งข่าม ซึ่งเป็นที่นิยมมากในประเทศไทยเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๑๓ สำหรับชนิดเนื้อเนียนละเอียดก็พบมีลักษณะแตกต่างกันไป เช่น คาลซีโดนี ได้แก่ ซาร์ด (Sard) มีสีน้ำตาลอ่อน - เข้ม ส้มปนน้ำตาล คาร์นีเลียน (Carnelian) น้ำตาลแดง หรือ น้ำตาลส้ม อะเกต หรือ โมรา มีลักษณะเป็นชั้นสีลับขนานกันทั้งที่เป็นแนวตรงหรือแนวโค้งงอ (Banded agate) ลักษณะคล้ายต้นไม้หรือสาหร่ายอยู่ในเน ื้อ (Moss agate)

โอนิกซ์ มีลักษณะเป็นชั้นสีขนานกันเป็นแนวตรง หินเลือดประ มีเนื้อสีเขียวทึบมีจุดสีแดงฝังประในเนื้อพ ื้นเขียวดังกล่าว ฟรินต์ หรือหินเหล็กไฟ มีสีด้านทึบสีเทา สีควันไฟหรือดำอมน้ำตาล เชิร์ต มีสีอ่อนกว่า ฟรินต์ แจสเพอร์ มีสีแดงหรือน้ำตาลปนแดง มีลักษณะเหมือนเชิร์ต เป็นต้น ควอตซ์ มีส่วนประกอบทางเคมีเป็นซิลิคอนไดออกไซด์ (SiO2) มีความแข็ ง = ๗ ความถ่วงจำเพาะ ๒.๖๕ - ๒.๖๗ มีค่าดัชนีหักเหแสง ๒ ค่า มีความวาวเหมือนแก้ว


นิลตะโก (BLACK SPINEL) มักเกิดร่วมเป็นเพื่อนพลอยคอรันดัมตามแหล่งต่าง ๆ เช่น บริเวณ อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี อำเภอ วังชิ้น จังหวัดแพร่ อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย


เพริดอต (PERIDOT) พบเกิดร่วมเป็นเพื่อนพลอยคอรันดัมที่ อำเภอเด่นชัย อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่


เพชร (DIAMOND) พบในแหล่งแร่ดีบุกหลายแห่ง ทั้งในทะเลและบนบก ในแถบอำเภอกระทู้ จังหวัดภูเก็ต อำเภอตะกั่วป่า อำเภอเมือง จังหวัดพังงา


เพชรน้ำค้างหรือซานิดีน (SANIDINE FELDSPAR-Moonstone) พบที่ อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี และ จังหวัดตราด


อะความารีนเบริล (AQUAMARINEBERYL) ส่วนใหญ่มีสีฟ้าอ่อน เนื้อทึบไม่ค่อยใสและมักมีรอยแตกร้าว พบในหินและสายแร่เพกมาไทต์ บริเวณอำเภอแม่แจ่ม อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี อำเภอ พะโต๊ะ จังหวัดชุมพร


ไข่มุก (PEARL) เป็นมุกเลี้ยง (Culturedpearl) ที่เกาะนาคาน้อย จังหวัดภูเก็ต อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี


อุลกมณี (TEKTITE-ดาวตกชนิดหนึ่ง) พบมากในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น จังหวัดขอนแก่น จังหวัดสกลนคร จังหวัดอุดรธานี จังหวัดนครพนม จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดเลย จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดอื่น ๆ เช่น จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำ พูน จังหวัดแพร่ จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์


โอปอธรรมดา (COMMON OPAL) พบที่อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดน่าน


แอกทิโนไลต์ (ACTINOLITE) พบที่อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์


นิลเสี้ยนหรือไพรอกซีนดำ (BLACK PYROXENE-Augite) มักเกิดร่วมเป็นเพื่อนพลอยคอรันดัมตามแหล่งต่าง ๆ เช่น บริเวณอำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี อ ำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด อำเภอวังชิ้น อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพ ร่ อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย


พรีห์ไนต์ (PREHNITE) พบที่ อำเภอเขาพระงาม จังหวัดลพบุรี
TOP OF PAGE
ป้ายกำกับ:

คุณสมบัติของ "เพชร"

เขียนโดย Admin 0 ความคิดเห็น

คุณสมบัติเฉพาะของเพชร

ความแข็ง 10
ความถ่วงจำเพาะ 3.52
ค่าดัชนีหักเห 2.417
การกระจายแสง .044
ความวาว เหมือนเพชร
สีที่เห็นบริเวณส่วนล่าง สีส้มและฟ้าของเพชร ( Pavilion )
ความสามารถเรืองแสง มักจะเรืองแสงสีฟ้าอ่อน-เข้ม (Ultraviolet Lamp คลื่นสั้นและคลื่นยาว)

ลักษณะภายในกล้องจุลทรรศน์ มลหินรูปเหลี่ยม รอยแตกเหมือนขั้นบันไดหรือเสี้ยนไม้ บริเวณขอบเพชร วาวเหมือนหนวด ( bearding ) บริเวณขอบเพชร และลักษณะที่แสดงถึงผิวธรรมชาติเดิม ( Natural ) ซึ่งมักจะพบเป็นรูปสามเหลี่ยมบริเวณขอบเพชร

องค์ประกอบที่ใช้การประเมิณคุณภาพเพชรมี 4 ชนิด คือ

1. น้ำหรือความบริสุทธิ์ ( Clarity )

มีตั้งแต่ไร้มลทินและตำหนิจนถึงมีมลทินและตำหนิมาก ลักษณะความบริสุทธิ์จะต้องพิจารณาถึงมลทินที่เกิดอยู่ภายใน หรือ ตำหนิ
( Blemishes ) ที่เกิดอยู่ภายนอกการจัดระดับความบริสุทธิ์ทำได้โดยพิจารณาถึงขนาด จำนวนตำแหน่ง และลักษระทางธรรมชาติของมลทินและตำหนิ เพชรที่มีความบริสุทธิ์สมบูรณ์ไร้รอยตำหนิมีอยู่น้อย แต่ถ้าเพชรสมบูรณ์ไร้รอยตำหนิและมี องค์ประกอบอื่นๆ คือ สี การเจียระไน และน้ำหนักดีพร้อม จะมีราคาแพงที่สุด การจัดลำดับความบริสุทธิ์ของเพขรที่นิยมใช้กันในยุโรปและอเมริกาได้กำหนดมาตราฐานไว้โดยต้องตรวจดูภายใต้แว่นขยายหรือกล้องจุลทรรศน์กำลังขยาย 10 เท่า

2. สี (Colour )
การจัดระดับสีทำได้โดยสังเกตุดูว่าสีของเพชรแปรเปลี่ยนไปจากความไม่มีสี ( Coloutless ) เพชรส่วนใหญ่จะมี สีเหลือง น้ำตาล เทา ปนอยู่เล็กน้อย ยกเว้นเพชรที่มีสีแฟนซี เช่น สีฟ้า ชมพู ม่วง แดง เพชรที่ไม่มีสีจัดเป็นเพชรที่มีค่าที่สุด

3. การเจียระไน ( Cut )
หมายถึง ส่วนสัดของเพชร ( Proportion ) และฝีมือการเจียระไน ( Finish) ซึ่งรวมถึงรูปร่าง ( Shape ) ว่าเจียระไนเป็นแบบเหลี่ยมเกสร ( Brilliant Cut ) เป็นแบบรูปมาร์คีส ( Marquise Cut ) หรือ เป็นแบบหลังเบี้ย ( Cabochon Cut ) เป็นต้น เพชรที่มีการเจียระไนได้ส่วนสัดตามมาตราฐานมีหน้าเหลี่ยมและมุมต่างๆ ถูกต้องตามหลักวิชา และมีฝีมือการเจียระไนที่ประณีตเรียบร้อยจะมีความสวยงามและมีการกระจายของแสงดี

การดูความถูกต้องของสัดส่วน ( Proportion Grading ) จะต้องทำการวัดมุมของส่วนบน ( Crown ) และส่วนล่าง ( Pavilion ) ของเพชรขนาดของโต๊ะหน้าเพชร ขนาดของปลายตัดก้นแหลม ความหนาของส่วนบนและความหนาของส่วนล่าง ความหนาของขอบเพชรแล้วนำมาเทียบกับส่วนสัดของเพชรที่นาย Tollkowsky ได้ทำเป็นมาตราฐานส่วนสัดเพชรที่เจียไนแบบเหลี่ยมเกสร ที่เรียกว่า Amercan Ideal Proportion

การจัดระดับฝีมือการเจียระไน ( Finish Grading ) ว่ามีความชำานาญและระมัดระวังในการเจียไนแค่ไหน เช่น ตรวจดูว่ามีเส้นรอยขัด รอยขีดข่วน รอยสึกกร่อนที่ก้นเพชร หรือ ขอบเพชรขรุขระ พร้อมกับตรวจดูว่าหน้าขัดมันมีณุปร่างดี มีการวางตัวถูกต้องและมีความสมดุลย์หรือไม่ เช่น เพชรบางเม็ดไม่กลมมีความเบี้ยวเล็กน้อย บางเม็ดมีหน้าขัดมันผิดรูปร่างไป

การเจียระไนมีผลต่อน้ำหนักที่พยายามรักษาไว้และความสวยงามของเพชรเมื่อเจียระไนเสร็จแล้ว ถ้าหากสามารถทำให้มีความสวยงามพร้อมกับรักษาน้ำหนักของเพชรไว้ด้วยแล้วก็จะทำให้เพชรนั้นมีค่ามากขึ้น

4. น้ำหนัก ( Carat Weight )
เพชรใช้หน่วยน้ำหนักเป็นกะรัตในการคิดราคาซื้อขาย 1 กระรัตเท่ากับ 0.200 กรัม ซึ่งเป็นหน่วยมาตราฐานในการคิดน้ำหนักพลอยอื่นด้วย หรือ 1 ใน 5 ของกรัม และใน 1 กะรัต ประกอบด้วย 100 จุด หรือ ในที่ในวงการนิยมเรียกว่าสตางค์ ดังนั้น 50 จุดหรือ 50 สตางค์ จะเท่ากับครึ่งกะรัตเพชรจะมีค่าสูงตั้งแต่ 1 กะรัตขึ้นไปและค่าจะสูงมากขึ้น ตั้งแต่ 5 กะรัตขึ้นไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีคุณสมบัติ 4C ครบแล้วราคาจะยิ่งสูงมาก

วิธีการตรวจเพชรอย่างง่ายๆ

ตรวจดูการกระจายแสงออก ( Dispersion ) โดยเปรียบเทียบกับเพชรเทียม
ตรวจสอบความถ่วงจำเพาะในกรณีที่เป็นเพชรร่วง
สังเกตุลักษณะขอบเพชร ซึ่งจะขัดไม่เรียบคงลักษณะ Waxy หรือ Granular ไว้บางครั้งอาจจะเห็นรอยแตกขนานของเพชรเป็นแบบขั้นบันได หรือ มีลักษณะของเส้นเหมือนหนวดอยู่ตามขอบของส่วนบนที่ติดกับขอบเพชร นอกจากนี้มีลักษณะตามธรรมชาติ เกิดเป็นรูปสามเหลี่ยมซึ่งเป็นร่องรอยของการเจริญเติบโตของผลึกหรือเกิดเป็นร่องขนานกันซึ่งเป็นผิวเดิมของผลึก
สังเกตุสีส่วนล่างของเพชรจะมีสีส้มและสีฟ้า
สังเกตุลักษณะมลทินส่วนใหญ่จะเป็นรูปเหลี่ยม
สังเกตุลักษระรอยัด ( Polishing Mark ) ในเพชรจะมีหลายทิศทาง แต่ในเพชรเทียมจะไปในทิศทางเดียวกัน
การตรวจดูคุณภาพใช้ลักษระ 4C ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
วิธีการสังเกตุเพชรเทียม ( Diamond Simulant )

เพชรเทียม หมายถึง เพชรที่มีส่วนประกอบทางเคมีต่างจากเพชรแท้ อาจเป็นอะไรก็ได้ที่มนุษย์ทำเลียนแบบขึ้น เช่น แย๊ก ( Yag ) จีจีจี ( GGG ) คิวบิกเซอร์โคเนีย (Cubic Zirconia ) สทรอนเซียมไทเทเนต ( Strontium Titanate)ฯลฯ รวมทั้งพลอยสังเคราะห์ไร้สีชนิดอื่นๆที่เกิดตามธรรมชาติ เช่น เพทาย เป็นต้น รายละเอียดของเพชรเทียม แต่ละชนิดจะไม่กล่าวถึง แต่จะให้ข้อสังเกตุไว้ดังนี้ คือ

ราคาต่ำกว่าปกติมาก
มีการกระจายของแสงดีมาก น้ำสวย แวววาวเล่นสีสรรมากกว่าเพชรแท้จนผิดสังเกต
ความแข็งน้อยกว่าทับทิม ไพลิน เขียวส่อง ยกเว้นพวกแซปไฟร์สังเคราะห์ไร้สี บางชนิดอ่อนกว่าพลอยตระกูลควอรตซ์เสียอีกจึงทำให้เป็นรอยขีดข่วนและมัวเร็ว
ความถ่วงจำเพาะค่อนข้างสูง มักจะสูงกว่าเพชร ดังนั้นเพชรเทียมที่มีน้ำหนักเท่ากับเพชร จะดูมีขนาดเล็กกว่าเพชร
การเจียระไนเหลี่ยมไม่ละเอียดเท่าเพชรแท้
สีบนส่วนล่างของเพชรเทียมเช่น Cubic Zirconia จะมีสีส้ม และ Yag จะมีสีน้ำเงินอมม่วง
ส่วนใหญ่จะเรืองแสงสีเขียวอ่อน หรือ สีเหลืองอ่อน เมื่อส่องด้วยแสงอุลตราไวโอเลตชนิดคลื่นสั้น สังเกตุเงาของเพชรเทียมแต่ละชนิดในน้ำยา Methylene Iodide
TOP OF PAGE
ป้ายกำกับ:

อัญมณี คืออะไร

เขียนโดย Admin 0 ความคิดเห็น

อัญมณี หมายถึง แร่หรือสารอินทรีย์ที่เกิดตามธรรมชาติ ซึ่งคนให้ความสำคัญและคุณค่าสูงในการใช้เป็นเครื่องประดับ เพื่อแสดงถึงฐานะ อำนาจ คสามมั่นคง ความมั่งมี โดยรัตนชาติมีคุณสมบัติพิเศษเฉพาะตัวในด้านความสวยงาม ความคงทน ความหายาก ความมีราคาสูง และสามารถนำติดตัวไปได้ง่าย
โดยแท้จริงแล้ว หมายถึง บรรดาแร่ที่มีคุณค่าหรือ ลักษณะที่เมื่อนำมาเจียไนหรือขัดมัน แล้วสวยงาม เป็นเครื่องประดับได้ อาจจะมีค่าสูงมากนับตั้งแต่ เพชร ทับทิม มรกต ลงไปจนถึงราคาถูก เช่น นิลตะโก เป็นต้น ควอรตซ์บางชนิด
เช่น นิลตะโก เป็นต้น ควอรอต์บางชนิด เช่น อะเกต (โมรา-โมกุล)บลัดสโตน เนไฟรต์ กับเจไดต์ หรือ เจด หรือที่เรียกกันว่าหยก และแร่ หรือหินบางชนิดที่มีสีเป็นที่นิยมนำมาทำเป็นเครื่องประดับได้รวมเรียกหินสี (Coloured stone)
การแบ่งรัตนชาติออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆคือ

เพชร (Diamond)
พลอยหรือหินสี (Coloured Stone)
การที่แบ่งรัตนชาติออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆโดยจำแนกเพชรออกจากพลอยหรือหินสี เนื่องจากเหตุผลหลายประการ คือ

เพชรที่มีคุณภาพดีที่สุด มักเกือบไร้สี ขณะที่พลอยคุณภาพดีที่สุดจะมีสีต่างๆ
คุณสมบัติทางกายภาพและทางแสงของเพชร แตกต่างกับพลอยอย่างเห็นได้ชัด
เพชนมีมาตราฐาน คุณภาพ และปริมาณในการกำหนดราคาซื้อขายในตลาด ส่วนพลอยยังไม่สามารถมีมาตราฐานกำหนดให้
แร่มีมากหลายชนิดประมาณ 2,000 กว่าชนิด แต่มีเพียง 90 ชนิด ที่จัดเป็นแร่รัตนชาติ และเพียง 20 ชนิด ที่จัดว่ามีความสำคัญในวงการรัตนชาติ การตรวจรัตนชาติมีขีดจำกัดมากกว่าตรวจแร่ทั่วๆไป เนื่องจากรัตนชาติไม่สามารถที่จะนำมาตรวจโดยการทำลายได้เหมือนกับการตรวจแร่อื่นๆ ดังนั้นวิธีการตรวจรัตนชาติจึงต้องอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ และ เครื่องมือในการตรวจเฉพาะ
ป้ายกำกับ:

เทคนิคการดู "ทองปลอม"

เขียนโดย Admin 2 ความคิดเห็น

วิธีการดูทองปลอม

ลองดูนะครับคิดว่า น่ามีประโยชน์

เครดิต Mthai,Namchiang.com
ป้ายกำกับ:

ทองคำขาว คือ

เขียนโดย Admin 0 ความคิดเห็น

ทองคำขาว คือ วัสดุผสม ของของ ทองคำและโลหะขาวอื่นๆ เช่น เงิน แพลเลเดียม หรือ นิกเกิล สีปกติของทองคำขาวมีสีเทาอ่อน โดยปกติอัญมณีที่ทำจากทองคำขาว นิยมเคลือบด้วย โรเดียม หรือ แพลตินัมเพื่อเพิ่มความเงางาม ทองคำขาวไม่ใช่แพลตินัม โดยปกติจะเคลือบแพลตินัมไม่เกิน 1 ใน 3


เนื่องจากแพลตินัมมีราคาแพง ทองคำขาวได้ถูกคิดค้นขึ้นในช่วง คริสต์ทศวรรษ 1920 ซึ่งเป็นวัสดุผสมที่จาก ทองคำ-แพลเลเดียม-นิกเกิล และราคาถูกกว่า แพลตินัม ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แพลตินัมและนิกเกิลถูกห้ามใช้ในกิจการอื่นนอกเหนือจากในสงคราม ทำให้วัสดุผสมระหว่าง ทองคำ-แพลเลเดียม เป็นที่นิยมในสหรัฐอเมริกา โดยมีน้ำหนักมากกว่าทองคำ-นิกเกิล ภายหลังสงคราม ทองคำขาวจากการผสมของนิกเกิลได้เป็นที่นิยมอีกครั้งเนื่องจากราคาที่ถูกกว่า

บางคน (ประมาณ 12.5%) มีอาการแพ้ต่อทองคำขาว เนื่องจากปฏิกิริยาระหว่าง นิกเกิลกับผิวหนัง โดยการระคายเคืองเล็กน้อยและอาจจะเป็นผื่นคัน
ป้ายกำกับ:

''เพชร '' ลักษณะไหนโดนใจคุณ

เขียนโดย Admin 0 ความคิดเห็น

สำหรับสาวๆ แล้ว หากให้เลือกเครื่องประดับชิ้นงามสักชิ้น คงไม่มีใครปฏิเสธว่า ที่จะเลือก “เพชร” เพราะเป็นอัญมณีที่สาวๆ ทุกคนใฝ่ฝันอยากจะครอบครอง และหากมีโอกาสได้เลือกเพชรเป็นเครื่องประดับสักชิ้น สิ่งที่สาวๆ ควรพิจารณา คือ การเลือกรูปทรงที่เหมาะสมกับบุคลิกของตนเอง...เราลองมาสำรวจกันสักนิดซิว่า เพชรในแต่ละรูปทรง บ่งบอกและสะท้อนบุคลิกสาวๆ อย่างไรกันบ้าง

• เพชรทรงกลม: ด้วยความที่เป็นเพชรรูปทรงคลาสสิก จึงเป็นที่นิยมของผู้หญิงจำนวนมาก ซึ่งเพชรทรงกลมนี้ สื่อถึงความโรแมนติก และความสื่อสัตย์
• เพชรเหลี่ยม: เพชรแห่งความหรูหรา ทำให้ผู้ที่ประดับกายด้วยเพชรรูปทรงนี้ ดูดี มีเสน่ห์ดึงดูดใจ แลดูเป็นหญิงสาวที่มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง มีความเป็นผู้นำ กล้าได้กล้าเสีย
• เพชรเหลี่ยมมรกต: เพชรที่สวยงามตลอดกาล สื่อถึงความสงบ สง่างาม สมกับเป็นผู้ดี มีใจกว้างขวาง มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
• เพชรรูปไข่: รูปทรงไข่ สื่อถึงความเป็นผู้หญิง เป็นที่รักของเด็กๆ มีความมั่นคง ซื่อสัตย์ และสาวที่ช่างคิดสร้างสรรค์
• เพชรรูปหยดน้ำ: บ่งบอกถึงความเป็นผู้หญิงที่แข้มแข็ง มีความมั่นใจ แฝงไปด้วยเสน่ห์ และโรแมนติก ในทางตรงกันข้าม เธออาจจะเป็นสาวเจ้าน้ำตา ขี้สงสาร ได้ในบางครั้ง
• เพชรรูปหัวใจ: “หัวใจ” สัญลักษณ์ ของ ความรักแท้ หวานโรแมนติค
• เพชรมาควิซ(มาคี): บ่งบอกถึงความมั่งคั่ง เลิศ หรูหรา สง่างาม

เมื่อรู้ความหมายที่สะท้อนผ่านรูปทรงต่างๆ ของเพชรกันแล้ว หากใครนึกอยากจะหาเพชรและอัญมณีมาเสริมบุคลิก และสะท้อนความเป็นตัวคุณแล้วล่ะก็ หามาสวมใส่กันได้เลย แต่...ต้องดู ''เงิน'' ในกระเป๋าเราด้วย!!!
ป้ายกำกับ:

ศัพท์จีน ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องประดับ

เขียนโดย Admin 0 ความคิดเห็น
项 xiang เซี้ยง แปลว่า ก้านคอคับ 链 lian เลี่ยน แปลว่า โซ่คับ รวมกันเป็น 项链 แปลว่า สร้อยคอคับ
金 jin จิน แปลว่า ทองคับ ในภาษาจีนนั้น ต้องเอาคำขยายไว้หน้า ดังนั้น จึงเป็น 金项链 จินเซี่ยงเลี่ยน แปลว่า สร้อยคอทองคำคับ
หรือ จะใช้คำว่า 金饰 jin shi จินซื่อ ก้อได้คับ 饰 shi ซื่อ ตัวนี้แปลว่า ประดับคับ เลยรวมกัน แปลว่า ทองประดับ .
ส่วนทองแท่งจะเป็นคำว่า 金条 jin tiao จินเถี๋ยว คับ คำว่า 条 เถี๋ยว จะแปลว่า เส้น คับ(ประเภทยาวๆ)
ส่วนร้านทองก้อ 金行 jin hang จิน หัง แปลว่า ร้านทองคับ 行 หัง แปลว่า ห้างร้านคับ ถ้าร้านไหนร้านใหญ่ก้อ เติม 大 da ลงไปข้างหน้าคับ ก้อจะเป็น 大金行 แปลว่า ห้างทองใหญ่ ถ้าใครคิดว่า ร้านเราเล็กก้อเติม 小 เสี่ยว แปลว่า เล็กคับ ลงไปข้างหน้าคับ แต่ ไม่มีใครเค้าเติมกันหรอกคับ อย่าบ้าจี้นะคับ
สมัยก่อนมีลูกค้าคนจีนเข้ามา ผมก้อสับสนนะ เค้าถามผมว่า จินเถียว จินเถียว อะไรเนี้ยแหละ ผมนึกว่า ทองที่เป็นเส้น แต่ที่ไหนได้ไปถามเหล่าซือ เหล่าซือบอกว่า ทองเส้นน่ะต้องจินซี่อ ทองแท่ง ต้องจินเถี๋ยว
ป้ายกำกับ: