การเลือก น้ํายาล้างทองคํา และ น้ำยาล้างเครื่องเงิน

วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เขียนโดย Admin 0 ความคิดเห็น

การเลือก น้ำยาล้างทองคำ น้ำยาล้างล้างเงิน





เป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันราคาทองคำพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว  ทำให้การนำเอาเครื่องประดับเงินหรือทองคำไปล้างตามร้านค้า มีความเสี่ยงต่อการที่จะถูกตัดเอาทองคำหรือการใช้เทคนิคต่าง ๆ ทำให้ทองคำหรือเครื่องเงินของเรานั้นหายไปเช่นตัดข้อต่อออกหรือสึกกร่อนไปได้ซึ่งมีวิธีทางเคมีที่เวลาล้างจะทำให้ทองคำสึกและไปติดกับแท่งอิเลคโตรดของทางร้าน 


ดังนั้นเพื่อเป็นความปลอดภัยสำหรับผู้ที่มีเครื่องประดับทองคำหรืออัญญมณีต่าง ๆ ควรจะล้างหรือทำความสะอาดด้วยตัวเอง น้ำยาผลิตจากวัตถุธรรมชาติไม่กัดกร่อนเครื่องทองและเครื่องเงินแต่จะช่วยชำระล้างออกไซด์ที่จับพื้นผิวทองคำออก เพียงแช่ไว้ 5-10 นาที แล้วน้ำมาล้างด้วยน้ำสะอาด เครื่องเงินและทองของท่านจะเงาวาวเหมือนใหม่


น้ำยาล้างเครื่องทอง ใช้เฉพาะล้างเครื่องทอง เท่านั้น


น้ำยาล้างเครื่องเงิน ใช้เฉพาะล้างเครื่องเงิน เท่านั้น


*** ห้ามใช้สลับกัน




วิธีวัดขนาดแหวนอย่างง่าย (Ring Size Chart)

เขียนโดย Admin 0 ความคิดเห็น
สิ่งสำคัญเรื่องหนึ่งในการสั่งซื้อเครื่องประดับทั้งหน้าร้านและผ่านร้านค้าออนไลน์ คือ การระบุขนาดแหวน โดยสามารถดูได้จาก วิธีวัดขนาดแหวนอย่างง่าย หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ยังไม่แน่ใจว่าแหวนที่คุณใส่ หรือแหวนที่คุณจะใส่นั้นมีขนาดเท่าใดแล้วล่ะก็นี่จะเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้คุณทราบว่านิ้วของคุณเหมาะกับแหวนขนาดอะไรโดยทำด้วยตัวคุณเองด้วย วิธีวัดขนาดแหวนอย่างง่าย 



ตารางการเปรียบเทียบวัดไซส์แหวน 
ตารางการวัดไซส์แหวนนี้ เป็นการวัดที่จะได้ขนาดมาตรฐานของUSA โดยนำขนาดที่เราวัดจากเส้นผ่านศูนย์กลางที่เป็นขนาดมิลลิเมตรที่ได้นั้นมาเปรียบเทียบกับตารางนี้ เราก็จะได้ไซส์หรือขนาดของแหวนที่เราต้องการ

กรณีที่ 1 วิธีการวัดแหวนอย่างถูกต้อง การวัดแหวนเพื่อที่จะได้ขนาดที่เราต้องการ ต้องวัดขนาดจากเส้นผ่านศูนย์กลางของแหวนเป็นมิลลิเมตรเท่านั้น เราจึงจะได้ขนาดที่พอดีกับนิ้วตามที่เราต้องการ

กรณีที่ 2 กรณีที่ไม่มีแหวน ตัดกระดาษขนาด 5 มิลลิเมตร แล้วนำมาพันรอบโคนนิ้วที่จะสวมแหวน โดยพันให้พอดีกับนิ้วมือไม่ให้แน่นและหลวมเกินไป


* สำหรับผู้ที่มีข้อนิ้วใหญ่ควรวัดโดยการพันกระดาษที่ข้อนิ้วให้แน่นแทนการพันบริเวณโคนนิ้ว เมื่อพันกระดาษเรียบร้อยแล้ว ให้ใช้ดินสอทำสัญลักษณ์บนกระดาษในตำแหน่งที่พันรอบนิ้วมือ นำกระดาษที่ได้มาวางทาบกับไม้บรรทัดเพื่อหาค่าที่ต้องการ ซึ่งจะมีหน่วยเป็นมิลลิเมตร จากนั้นนำค่าที่ได้นั้นมาเปรียบกับตารางของเส้นรอบวงไซส์แหวน เราก็จะได้ขนาดของแหวนที่เราต้องการ

ศิลปะบนเนื้อทอง

วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554 เขียนโดย Admin 1 ความคิดเห็น

ช่างทองโดยทั่วไปแบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือ ช่างทองรูปพรรณและช่างทำภาชนะต่าง ๆ ช่างทองเมืองเพชรอยู่ในกลุ่มช่างทองรูปพรรณ รูปแบบทองรูปพรรณของเมืองเพชรมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

นิยมทำเครื่องประดับประเภท

สร้อยคอ สร้อยข้อมือ แหวน ตุ้มหู ลวดลาย

ที่ได้สร้างสรรค์จนเป็นที่นิยมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีดังนี้


- ขัดมัน เป็นชื่อสร้อยคอ มีลักษณะเป็นห่วงกลมเกี่ยวกันเป็นลูกโซ่ต่อเนื่องกัน โดยช่างจะใช้ตะไบลบเหลี่ยมห่วงของสร้อยตลอดเส้น
- สี่เสา หกเสา และแปดเสา เป็นลวดลายการถักห่วงกลมขนาดเล็ก ๆ จำนวนมากอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำเป็นสร้อยคอและสายสะพายแล่ง สรอยสี่เสาจะมีขนาดเล็ก สร้อยหกเสามีขนาดปานกลาง ส่วนสร้อยแปดเหลี่ยมจะมีขนาดใหญ่
- สมอเกลียว เป็นสร้อยที่ทำจากลวดลายทองคำขดเป็นห่วงแล้วเชื่อมต่อกันเป็นลูกโซ่ปะวะหล่ำหรือปะวะหล่ำทรงเครื่อง ซึ่งเลียนแบบมาจากโคมจีน
- ลูกสน มีลักษณะคล้ายลูกสนทะเล ประกอบด้วยโครงลวดทองขนาดเล็กต่อประกอบกัน
- เต่าร้าง เป็นชื่อเรียกตุ้มหู มีลักษณะคล้ายพวงของผลเต่าร้าง
- ลูกไม้ปลายมือหรือเล็บมือ เป็นทองรูปพรรณประเภทสร้อยข้อมือ ประกอบด้วยทรงกระบอกขนาดเล็กคั่นด้วยทอง ทำเป็นรูปดอกพิกุลหรือเป็นรูปห้าแฉก คล้ายฝ่ามือและฝ่านิ้ว
- ดอกพิกุล เป็นลวดลายทอง นิยมใช้ตกแต่งหรือประกอบทองรูปพรรณลวดลายอื่น
- ดอกมะลิ เป็นทองรูปพรรณมีลักษณะคล้ายดอกมะลิกำลังบาน โดยกลีบดอกมะลิแต่ละดอกจะประดับเพชรซีก ยาวรี ด้วยวิธีการตีขอบ
- ก้านบัว เป็นชื่อเรียกกำไลข้อเท้า สำหรับเด็กในสมัยก่อนมีลักษณะเป็นห่วงขนาดใหญ่ กลมเกลี้ยง
- บัวสัตตบงกช (กระดุม) เป็นลายทองรูปพรรณ เลียนแบบบัวสัตตบงกช มีชื่อเรียกในหมู่ช่างทองเมืองเพชรบุรีว่า กระดุม
- บัวจงกลและมณฑป เป็นลวดลายของช่างเขียนลายไทย ซึ่งช่างงทองได้นำมาออกแบบเป็นปิ่นปักผม
- ประจำยาม ช่างทองได้ดัดแปลงลายประจำยามมาทำเป็นจี้ มีสองชนิดคือ จี้ตัวผู้กับจี้ตัวเมีย
- เสมหรือปลา เป็นลวดลายที่ช่างทองสมัยโบราณนิยมทำเป็นแผ่นทอง และดุนให้เป็นลวดลายเสมาหรือปลา
- ผีเสื้อ เป็นทองรูปพรรณที่มีรูปแบบการสร้างสรรค์จากโครงสร้างของผีเสื้อ
- งู พญานาค และมังกร เป็นลวดลายทอง ซึ่งดัดแปลงจากสัตว์ประเภทงู ช่างนิยมทำเป็นแหวนงูประเภทต่าง ๆ
- มังกร ลวดลายมังกร เป็นการแกะสลักผสมผสานการเคาะและดุนลวดลายลงบนแผ่นทองคำ ซึ่งตีขึ้นเป็นรูปกำไล
- ตะขาบ เป็นลวดลายทองรูปพรรณ ที่เลียนแบบตัวตะขาบ นิยมทำเป็นสร้อยข้อมือ
- พิรอด ในสมัยโบราณพิรอดเป็นแหวนซึ่งถักด้วยผ้ายัญหรือด้ายดิบ นิยมใช้เป็นเครื่องราง ช่างทองได้ดัดแปลงลวดลายมาทำเป็นแหวนพิรอด
- ตะไบ เป็นแหวนฝังพลอยหรือเพชรซีกทั่ว ๆ ไป แต่ช่างทองเมืองเพชรบุรีใช้วิชาการสลักลวดลาย
ป้ายกำกับ:

เรื่องของ ทองคำ

วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2552 เขียนโดย Admin 1 ความคิดเห็น

โอ้โห! ทอง ทอง...แหมคงไม่มีใครไม่ตื่นตาตื่นใจกับ "ทองคำ" หรือ "อัญมณี" หรอกใช่ไหม แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ถึงเบื้องลึกเบื้องหลังกว่าจะได้มาซึ่ง "ทองคำ" อันล้ำค่า เอาเป็นว่าเราไปรู้จักกับ "ทองคำ"พร้อมๆ กันดีกว่า...

ทองคำ (Gold) เป็นโลหะมีค่าที่อยู่ในกลุ่มโลหะมีค่าประเภทเดียวกับเงิน แพลทินัม แพลเลเดียม โรเดียม อิริเดียม และออสเมียม ซึ่งทองคำนั้นเกิดโดยธรรมชาติ เป็นแร่ธาตุตามธรรมชาติ มีความคงทนต่อการเกิดปฏิกิริยาสูง จึงทนต่อการผุกร่อน ไม่เกิดการออกซิไดซ์กับอากาศ จึงสามารถเก็บรักษาโดยคงรูปลักษณ์ดั้งเดิมอันสวยงามไว้ได้นาน ไม่หมอง จึงนิยมนำมาใช้ทำเป็นเครื่องประดับ วัสดุทางทันตกรรม บางส่วนของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และทองคำ (99.99%) ก็ใช้เป็นทรัพย์สินที่ใช้เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศอีกด้วย

ทองคำ (Gold) มีสัญลักษณ์ทางเคมี คือ Au ซึ่งมาจากคำว่า Aurum ในภาษากรีกมีน้ำหนักอะตอม 196.966 amu มีความถ่วงจำเพาะ 19.33 g/cc มีจุดหลอมเหลว 1,064 องศาเซลเซียส จุดเดือด 2,970 องศาเซลเซียส เป็นโลหะอ่อนจึงสามารถตีเป็นแผ ่นบางๆ หรือดึงเป็นเส้นได้ โดยทองคำบริสุทธิ์หนัก 1 ออนซ์ สามารถดึงเป็นเส้นลวดได้ยาวถึง 35 ไมล์ มีความแข็งอยู่ที่ประมาณ 2.25 และสำหรับประเทศไทย ซึ่งนิยมใช้หน่วยทองคำเป็นบาทนั้นจะมีค่าเท่ากับ 15.2 กรัม

เห็นได้ว่าทองคำมีค่าความแข็งค่อนข้างน้อย ด้วยเหตุนี้มนุษย์จึงนำโลหะชนิดอื่นเข้ามาผสมกับทองคำเพื่อเพิ่มความแข็งให้มากขึ้น และนอกจากความแข็ง ซึ่งเพิ่มขึ้นแล้วนั้น สิ่งที่ได้เพิ่มขึ้นมานั่นก็คือสีสันอันหลากหลายของทองคำนั่นเอง ได้แก่...

"ทองกะรัต" (Karat Gold) ได้จากการผสมทองคำบริสุทธิ์กับเงินและทองแดง ซึ่งได้ค่าความบริสุทธิ์ของทองคำที่ผสมออกมาเป็นค่ากะรัต หรือ K เครื่องประดับทองส่วนมากก็มักจะนิยมสีทองกะรัตหรือสีทองอร่ามนี้ ซึ่งเป็นสีมาตรฐานที่สากลนิยม แต่ความเข้มของสีทองนั้นก็มักจะแตกต่างกันไปตามความนิยมของผู้บริโภคในประเทศ

"ทองสีชมพู" (Pink Gold) ซึ่งได้จากการผสมทองคำบริสุทธิ์กับเงินและทองแดง โดยเพิ่มค่าสัดส่วนของทองแดงให้มากขึ้น จึงทำให้ได้สีชมพู ในต่างประเทศยังเรียกทองชนิดนี้ว่า Rose Gold ซึ่งนิยมใช้สำหรับเครื่องประดับแฟชั่นที่ให้ความรู้สึกโรแมนติกและอ่อนหวาน

"ทองขาว" ซึ่งท่านผู้อ่านส่วนใหญ่มักสับสนกับ "ทองคำขาว" เพราะชื่อค่อนข้างคล้ายกัน ทองขาวนั้นได้จากการผสมทองคำบริสุทธิ์กับพัลลาเดียม นิกเกิล และสังกะสี ส่วนทองคำขาว (แพลทินัม) นั้นเป็นธาตุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีลักษณะเช่นเดียวกับทองคำ แต่แพลทินัมนี้จะมีความแวววาวสูง และสามารถคงความงดงามได้ตลอดไป ทำให้มีราคาสูงกว่าทองขาวและทองทั่วไปเกือบ 3 เท่าตัว

นอกจากสีของทองคำที่กล่าวมาแล้วนั้น ทองคำยังมีสีอื่นๆ อีกมากมาย โดยปัจจุบันก็มีการคิดค้นสีของทองคำเพิ่มมากขึ้น ส่วนหนึ่งนั้นเกิดมาจากแฟชั่นที่เปลี่ยนแปลงไปประกอบกับราคาของทองคำหลากสีที่ถีบตัวสูงมากขึ้น และไอเดียของเหล่าดีไซเนอร์ทำให้ปัจจุบันแฟชั่นหรือรูปแบบของทองคำเปลี่ยนแปลงไป
TOP OF PAGE
ป้ายกำกับ:

ความรู้เรื่อง อัญมณี

วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2552 เขียนโดย Admin 2 ความคิดเห็น

อัญมณี หรือ เพชรพลอยและสินค้าเครื่องประดับที่ส่งออกของไทยประกอบด้วยเครื่องประดับทองเครื่องประดับเงิน และเครื่องประดับจากโลหะมีค่าชนิดอื่นๆ เช่น ทองคำขาว เป็นต้น นอกจากนี้ อัญมณียังสามารถแบ่งเป็นชนิด ตามการค้นพบได้หลากหลาย มีความงดงามแตกต่างกันไป ดังนี้ เพชร มรกต ทับทิม บุศราคัม โกเมน นิล มุกดาหาร เพทาย ไพฑูรย์ หยก โอปอ และในปัจจุบันยังมีการค้นพบ แซฟไฟร์ ควอทซ์ อะความารีน เบริล คริสตอล เป็นต้น


ทิบทิมและไพลิน (RUBY AND SAPPHIRE) เป็นอัญมณีชนิดที่พบมากมีค่าและราคาสูง ทำรายได้ให้กับประเทศมากที่สุดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน อัญมณีทั้งสองชนิดนี้จัดเป็นแร่อยู่ในประเภทแร่คอรันดัมหรือกะรุนในภาษาไทย คำเดิมมาจากภาษาทมิฬ (kurun dum) หรือมาจากภาษาสันสกฤต (korund of karund) ruby มาจากภาษาลาติน (ruber or rubeus) หมายถึง สีแดง ส่วน sapphire มาจากภาษาลาติน (sapphirus) หรือภาษากรีก (sappheiros ) หมายถึง สีน้ำเงิน ผลึกแร่อยู่ในระบบเฮกซะโกนาล (Hexagonal) รูปผลึกที่พบม ากมีลักษณะเป็นแท่งยาวหกเหลี่ยมป่องตรงกลางคล้ายถังเบียร์ มีความโปร่งใสถึงทึบแสง ส่วนประกอบทางเคมีเป็นอะลูมิเนียมออกไซด์ (A12O3 ) ภายในเนื้อแร่มักมีธาตุชนิดอื่นปนเป็นมลทิน เช่น Cr , Fe , Ti , V เป็นต้น ซึ่งมลทินธาตุเหล่านี้ที่เป็นตัวทำให้คอรันดัมม ีสีแตกต่างกันออกไปในแต่ละชนิด เช่น Cr ทำให้เกิดสีแดง เรียกว่า ทับทิม Ti และ Fe ทำให้เกิดสีน้ำเงินเรียกว่า ไพลิน เป็นต้น คอรันดัมมีค่าความแข็งเท่ากับ ๙ ความถ่วงจำเพาะประมาณ ๔ มีความวาวคล้ายแก้วถึงคล้ายเพชร มีค่าดัชนีหักเหแสง ๒ ค่า และมีสีแฝดเกิดได้ ๒ สี คอรันดัมเกิดขึ้นได้ในหินชนิดต่าง ๆ หลายชนิด สำหรับในประเทศไทยพบเกิดในบริเวณหินภูเขาไฟชนิดบะ ซอลต์ ซึ่งมักพบในลักษณะผุพังจากหินต้นกำเนิดเดิมมาแล้ว (Secondary deposits) ทั้งที่เป็นแบบผุพังอยู่กับที่ในดินบะซอลต์ (Residual b asaltic deposits) และแบบถูกนำพาเคลื่อนที่ไปสะสมที่อื่น ๆ ตามลำห้วย แม่น้ำ ลำธาร ลำคลอง ท้องน้ำ และบริเวณที่ราบลุ่ม เรียกว่า แบบ ลานแร่ (Placer) มีการผลิตแร่ด้วยเทคนิควิธีการแบบชาวบ้าน ไปจนถึงใช้เทคนิคเครื่องมือและวิธีการที่ทันสมัย


โกเมน (GARNET) โกเมนที่พบเป็นชนิดสีแดง ทั้งชนิดไพโรป และแอลมันไดต์ ซึ่งมีระดับสีแดงต่าง ๆ เช่น แดงอมดำ แดงอมน้ำตาล แดงอมม่วง แดงอมส้ม เป็นต้น การ์เนตจัดเป็นกลุ่มแร่หนึ่ง ผลึกแร่อยู่ในระบบไอโซเมทริก รูปผลึกที่พบกันมา กมีลักษณะกลมคล้ายลูกตะกร้อ โปร่งแสงถึงทึบแสง มีส่วนประกอบทางเคมีเป็นแร่กลุ่มซิลิเกตกับธาตุเหล็กหรืออะลูมิเนียมกับธาตุอื่น ๆ อีกหลายชนิด มีความแข็ง ๗ - ๗.๕ ความถ่วงจำเพาะ ๓.๗๘ - ๔.๑๕ มีค่าดัชนีหักเหแสงค่าเดียว มีความวาวเหมือนแก้ว แหล่ง ที่พบมักเกิดร่วมกับพลอยคอรันดัมในแหล่งต่าง ๆ เช่น อำเภอเมือง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี อำเภอบ่อไร่ อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด อำเภอแกลง จังหวัดระยอง อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี อำเภอขุนหาญ จังหวัด ศรีสะเกษ อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นต้น


เพทาย (ZIRCON) เป็นอัญมณีที่ได้รับความนิยมอย่างมากในอดีตของไทยถึงกับเรียกว่า "เพชรไทย" จัดเป็นแร่ที่มีผลึกอยู่ในระบบเททระโกนาล รูปผลึกที่พบกันมาก มีลักษณะเป็นแท่งสี่เหลี่ยมยาว ปลายแหลม ลักษณะโปร่งแสงถึงโปร่งใส ส่วนใหญ่มีสีออกไ ปทางส ีน้ำตาลต่าง ๆ มีส่วนประกอบทางเคมีเป็นเซอร์โคเนียมซิลิเกต (ZrSiO4) มีความแข็ง ๖ - ๗.๕ ความถ่วงจำเพาะ ๓.๙๐ - ๔.๗๑ มีค่าดัชนีหักเหแสง ๒ ค่า มีความวาวและมีค่าการกระจายแสงสูงใกล้เพชรมาก แหล่งที่พบก็มักเกิดร่วมเป็นเพื่อนพลอยคอรันดัม ตามแหล่งต่ าง ๆ เช่น อำเภอเมือง อำเภอขลุง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเ กษ เป็นต้น โดยมากแล้วเพทายมักจะนำไปเผา ให้มีความใสมากขึ้นหรือทำให้เปลี่ยนเป็นสีขาว เหลือง ฟ้า แล้วจึงนำไปเจียระไน โดยเฉพาะชนิดสีขาวใส เมื่อเจียระไนแล้วจะมีลักษณะคล้ายเพชรมาก


ควอตซ์ (QUARTZ) พบทั้งในชนิดที่เป็นเนื้อผลึก (Crysalline quartz) และชนิดเนื้อเนียนละเอียด (Crypto - crystalline quartz) เป็นแร่อยู่ในระบบผลึกเฮกซะโกนาล รูปผลึกที่พบมาก มีลักษณะเป็นแท่งหกเหลี่ยมยาวปลายแหลมปิดหัวท้ายผลึก มีสีต่ าง ๆ เช่น สีชมพู (Rose quartz) สีม่วง (Amethyst) สีควันไฟ (Smoky quartz) หินผลึกขาวใส (Rock crystal) ผลึกขาวใสที่มีมลทินแร่ชนิดอื่นอยู่ภายในเ นื้อ เช่น รูไทล์ ทัวร์มาลีน คลอไรต์ ไมกา ฮีมาไทยต์ เป็นต้น ที่เรียกกันว่าแก้วโป่งข่าม ซึ่งเป็นที่นิยมมากในประเทศไทยเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๑๓ สำหรับชนิดเนื้อเนียนละเอียดก็พบมีลักษณะแตกต่างกันไป เช่น คาลซีโดนี ได้แก่ ซาร์ด (Sard) มีสีน้ำตาลอ่อน - เข้ม ส้มปนน้ำตาล คาร์นีเลียน (Carnelian) น้ำตาลแดง หรือ น้ำตาลส้ม อะเกต หรือ โมรา มีลักษณะเป็นชั้นสีลับขนานกันทั้งที่เป็นแนวตรงหรือแนวโค้งงอ (Banded agate) ลักษณะคล้ายต้นไม้หรือสาหร่ายอยู่ในเน ื้อ (Moss agate)

โอนิกซ์ มีลักษณะเป็นชั้นสีขนานกันเป็นแนวตรง หินเลือดประ มีเนื้อสีเขียวทึบมีจุดสีแดงฝังประในเนื้อพ ื้นเขียวดังกล่าว ฟรินต์ หรือหินเหล็กไฟ มีสีด้านทึบสีเทา สีควันไฟหรือดำอมน้ำตาล เชิร์ต มีสีอ่อนกว่า ฟรินต์ แจสเพอร์ มีสีแดงหรือน้ำตาลปนแดง มีลักษณะเหมือนเชิร์ต เป็นต้น ควอตซ์ มีส่วนประกอบทางเคมีเป็นซิลิคอนไดออกไซด์ (SiO2) มีความแข็ ง = ๗ ความถ่วงจำเพาะ ๒.๖๕ - ๒.๖๗ มีค่าดัชนีหักเหแสง ๒ ค่า มีความวาวเหมือนแก้ว


นิลตะโก (BLACK SPINEL) มักเกิดร่วมเป็นเพื่อนพลอยคอรันดัมตามแหล่งต่าง ๆ เช่น บริเวณ อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี อำเภอ วังชิ้น จังหวัดแพร่ อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย


เพริดอต (PERIDOT) พบเกิดร่วมเป็นเพื่อนพลอยคอรันดัมที่ อำเภอเด่นชัย อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่


เพชร (DIAMOND) พบในแหล่งแร่ดีบุกหลายแห่ง ทั้งในทะเลและบนบก ในแถบอำเภอกระทู้ จังหวัดภูเก็ต อำเภอตะกั่วป่า อำเภอเมือง จังหวัดพังงา


เพชรน้ำค้างหรือซานิดีน (SANIDINE FELDSPAR-Moonstone) พบที่ อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี และ จังหวัดตราด


อะความารีนเบริล (AQUAMARINEBERYL) ส่วนใหญ่มีสีฟ้าอ่อน เนื้อทึบไม่ค่อยใสและมักมีรอยแตกร้าว พบในหินและสายแร่เพกมาไทต์ บริเวณอำเภอแม่แจ่ม อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี อำเภอ พะโต๊ะ จังหวัดชุมพร


ไข่มุก (PEARL) เป็นมุกเลี้ยง (Culturedpearl) ที่เกาะนาคาน้อย จังหวัดภูเก็ต อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี


อุลกมณี (TEKTITE-ดาวตกชนิดหนึ่ง) พบมากในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น จังหวัดขอนแก่น จังหวัดสกลนคร จังหวัดอุดรธานี จังหวัดนครพนม จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดเลย จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดอื่น ๆ เช่น จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำ พูน จังหวัดแพร่ จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์


โอปอธรรมดา (COMMON OPAL) พบที่อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดน่าน


แอกทิโนไลต์ (ACTINOLITE) พบที่อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์


นิลเสี้ยนหรือไพรอกซีนดำ (BLACK PYROXENE-Augite) มักเกิดร่วมเป็นเพื่อนพลอยคอรันดัมตามแหล่งต่าง ๆ เช่น บริเวณอำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี อ ำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด อำเภอวังชิ้น อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพ ร่ อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย


พรีห์ไนต์ (PREHNITE) พบที่ อำเภอเขาพระงาม จังหวัดลพบุรี
TOP OF PAGE
ป้ายกำกับ:

คุณสมบัติของ "เพชร"

เขียนโดย Admin 0 ความคิดเห็น

คุณสมบัติเฉพาะของเพชร

ความแข็ง 10
ความถ่วงจำเพาะ 3.52
ค่าดัชนีหักเห 2.417
การกระจายแสง .044
ความวาว เหมือนเพชร
สีที่เห็นบริเวณส่วนล่าง สีส้มและฟ้าของเพชร ( Pavilion )
ความสามารถเรืองแสง มักจะเรืองแสงสีฟ้าอ่อน-เข้ม (Ultraviolet Lamp คลื่นสั้นและคลื่นยาว)

ลักษณะภายในกล้องจุลทรรศน์ มลหินรูปเหลี่ยม รอยแตกเหมือนขั้นบันไดหรือเสี้ยนไม้ บริเวณขอบเพชร วาวเหมือนหนวด ( bearding ) บริเวณขอบเพชร และลักษณะที่แสดงถึงผิวธรรมชาติเดิม ( Natural ) ซึ่งมักจะพบเป็นรูปสามเหลี่ยมบริเวณขอบเพชร

องค์ประกอบที่ใช้การประเมิณคุณภาพเพชรมี 4 ชนิด คือ

1. น้ำหรือความบริสุทธิ์ ( Clarity )

มีตั้งแต่ไร้มลทินและตำหนิจนถึงมีมลทินและตำหนิมาก ลักษณะความบริสุทธิ์จะต้องพิจารณาถึงมลทินที่เกิดอยู่ภายใน หรือ ตำหนิ
( Blemishes ) ที่เกิดอยู่ภายนอกการจัดระดับความบริสุทธิ์ทำได้โดยพิจารณาถึงขนาด จำนวนตำแหน่ง และลักษระทางธรรมชาติของมลทินและตำหนิ เพชรที่มีความบริสุทธิ์สมบูรณ์ไร้รอยตำหนิมีอยู่น้อย แต่ถ้าเพชรสมบูรณ์ไร้รอยตำหนิและมี องค์ประกอบอื่นๆ คือ สี การเจียระไน และน้ำหนักดีพร้อม จะมีราคาแพงที่สุด การจัดลำดับความบริสุทธิ์ของเพขรที่นิยมใช้กันในยุโรปและอเมริกาได้กำหนดมาตราฐานไว้โดยต้องตรวจดูภายใต้แว่นขยายหรือกล้องจุลทรรศน์กำลังขยาย 10 เท่า

2. สี (Colour )
การจัดระดับสีทำได้โดยสังเกตุดูว่าสีของเพชรแปรเปลี่ยนไปจากความไม่มีสี ( Coloutless ) เพชรส่วนใหญ่จะมี สีเหลือง น้ำตาล เทา ปนอยู่เล็กน้อย ยกเว้นเพชรที่มีสีแฟนซี เช่น สีฟ้า ชมพู ม่วง แดง เพชรที่ไม่มีสีจัดเป็นเพชรที่มีค่าที่สุด

3. การเจียระไน ( Cut )
หมายถึง ส่วนสัดของเพชร ( Proportion ) และฝีมือการเจียระไน ( Finish) ซึ่งรวมถึงรูปร่าง ( Shape ) ว่าเจียระไนเป็นแบบเหลี่ยมเกสร ( Brilliant Cut ) เป็นแบบรูปมาร์คีส ( Marquise Cut ) หรือ เป็นแบบหลังเบี้ย ( Cabochon Cut ) เป็นต้น เพชรที่มีการเจียระไนได้ส่วนสัดตามมาตราฐานมีหน้าเหลี่ยมและมุมต่างๆ ถูกต้องตามหลักวิชา และมีฝีมือการเจียระไนที่ประณีตเรียบร้อยจะมีความสวยงามและมีการกระจายของแสงดี

การดูความถูกต้องของสัดส่วน ( Proportion Grading ) จะต้องทำการวัดมุมของส่วนบน ( Crown ) และส่วนล่าง ( Pavilion ) ของเพชรขนาดของโต๊ะหน้าเพชร ขนาดของปลายตัดก้นแหลม ความหนาของส่วนบนและความหนาของส่วนล่าง ความหนาของขอบเพชรแล้วนำมาเทียบกับส่วนสัดของเพชรที่นาย Tollkowsky ได้ทำเป็นมาตราฐานส่วนสัดเพชรที่เจียไนแบบเหลี่ยมเกสร ที่เรียกว่า Amercan Ideal Proportion

การจัดระดับฝีมือการเจียระไน ( Finish Grading ) ว่ามีความชำานาญและระมัดระวังในการเจียไนแค่ไหน เช่น ตรวจดูว่ามีเส้นรอยขัด รอยขีดข่วน รอยสึกกร่อนที่ก้นเพชร หรือ ขอบเพชรขรุขระ พร้อมกับตรวจดูว่าหน้าขัดมันมีณุปร่างดี มีการวางตัวถูกต้องและมีความสมดุลย์หรือไม่ เช่น เพชรบางเม็ดไม่กลมมีความเบี้ยวเล็กน้อย บางเม็ดมีหน้าขัดมันผิดรูปร่างไป

การเจียระไนมีผลต่อน้ำหนักที่พยายามรักษาไว้และความสวยงามของเพชรเมื่อเจียระไนเสร็จแล้ว ถ้าหากสามารถทำให้มีความสวยงามพร้อมกับรักษาน้ำหนักของเพชรไว้ด้วยแล้วก็จะทำให้เพชรนั้นมีค่ามากขึ้น

4. น้ำหนัก ( Carat Weight )
เพชรใช้หน่วยน้ำหนักเป็นกะรัตในการคิดราคาซื้อขาย 1 กระรัตเท่ากับ 0.200 กรัม ซึ่งเป็นหน่วยมาตราฐานในการคิดน้ำหนักพลอยอื่นด้วย หรือ 1 ใน 5 ของกรัม และใน 1 กะรัต ประกอบด้วย 100 จุด หรือ ในที่ในวงการนิยมเรียกว่าสตางค์ ดังนั้น 50 จุดหรือ 50 สตางค์ จะเท่ากับครึ่งกะรัตเพชรจะมีค่าสูงตั้งแต่ 1 กะรัตขึ้นไปและค่าจะสูงมากขึ้น ตั้งแต่ 5 กะรัตขึ้นไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีคุณสมบัติ 4C ครบแล้วราคาจะยิ่งสูงมาก

วิธีการตรวจเพชรอย่างง่ายๆ

ตรวจดูการกระจายแสงออก ( Dispersion ) โดยเปรียบเทียบกับเพชรเทียม
ตรวจสอบความถ่วงจำเพาะในกรณีที่เป็นเพชรร่วง
สังเกตุลักษณะขอบเพชร ซึ่งจะขัดไม่เรียบคงลักษณะ Waxy หรือ Granular ไว้บางครั้งอาจจะเห็นรอยแตกขนานของเพชรเป็นแบบขั้นบันได หรือ มีลักษณะของเส้นเหมือนหนวดอยู่ตามขอบของส่วนบนที่ติดกับขอบเพชร นอกจากนี้มีลักษณะตามธรรมชาติ เกิดเป็นรูปสามเหลี่ยมซึ่งเป็นร่องรอยของการเจริญเติบโตของผลึกหรือเกิดเป็นร่องขนานกันซึ่งเป็นผิวเดิมของผลึก
สังเกตุสีส่วนล่างของเพชรจะมีสีส้มและสีฟ้า
สังเกตุลักษณะมลทินส่วนใหญ่จะเป็นรูปเหลี่ยม
สังเกตุลักษระรอยัด ( Polishing Mark ) ในเพชรจะมีหลายทิศทาง แต่ในเพชรเทียมจะไปในทิศทางเดียวกัน
การตรวจดูคุณภาพใช้ลักษระ 4C ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
วิธีการสังเกตุเพชรเทียม ( Diamond Simulant )

เพชรเทียม หมายถึง เพชรที่มีส่วนประกอบทางเคมีต่างจากเพชรแท้ อาจเป็นอะไรก็ได้ที่มนุษย์ทำเลียนแบบขึ้น เช่น แย๊ก ( Yag ) จีจีจี ( GGG ) คิวบิกเซอร์โคเนีย (Cubic Zirconia ) สทรอนเซียมไทเทเนต ( Strontium Titanate)ฯลฯ รวมทั้งพลอยสังเคราะห์ไร้สีชนิดอื่นๆที่เกิดตามธรรมชาติ เช่น เพทาย เป็นต้น รายละเอียดของเพชรเทียม แต่ละชนิดจะไม่กล่าวถึง แต่จะให้ข้อสังเกตุไว้ดังนี้ คือ

ราคาต่ำกว่าปกติมาก
มีการกระจายของแสงดีมาก น้ำสวย แวววาวเล่นสีสรรมากกว่าเพชรแท้จนผิดสังเกต
ความแข็งน้อยกว่าทับทิม ไพลิน เขียวส่อง ยกเว้นพวกแซปไฟร์สังเคราะห์ไร้สี บางชนิดอ่อนกว่าพลอยตระกูลควอรตซ์เสียอีกจึงทำให้เป็นรอยขีดข่วนและมัวเร็ว
ความถ่วงจำเพาะค่อนข้างสูง มักจะสูงกว่าเพชร ดังนั้นเพชรเทียมที่มีน้ำหนักเท่ากับเพชร จะดูมีขนาดเล็กกว่าเพชร
การเจียระไนเหลี่ยมไม่ละเอียดเท่าเพชรแท้
สีบนส่วนล่างของเพชรเทียมเช่น Cubic Zirconia จะมีสีส้ม และ Yag จะมีสีน้ำเงินอมม่วง
ส่วนใหญ่จะเรืองแสงสีเขียวอ่อน หรือ สีเหลืองอ่อน เมื่อส่องด้วยแสงอุลตราไวโอเลตชนิดคลื่นสั้น สังเกตุเงาของเพชรเทียมแต่ละชนิดในน้ำยา Methylene Iodide
TOP OF PAGE
ป้ายกำกับ:

อัญมณี คืออะไร

เขียนโดย Admin 0 ความคิดเห็น

อัญมณี หมายถึง แร่หรือสารอินทรีย์ที่เกิดตามธรรมชาติ ซึ่งคนให้ความสำคัญและคุณค่าสูงในการใช้เป็นเครื่องประดับ เพื่อแสดงถึงฐานะ อำนาจ คสามมั่นคง ความมั่งมี โดยรัตนชาติมีคุณสมบัติพิเศษเฉพาะตัวในด้านความสวยงาม ความคงทน ความหายาก ความมีราคาสูง และสามารถนำติดตัวไปได้ง่าย
โดยแท้จริงแล้ว หมายถึง บรรดาแร่ที่มีคุณค่าหรือ ลักษณะที่เมื่อนำมาเจียไนหรือขัดมัน แล้วสวยงาม เป็นเครื่องประดับได้ อาจจะมีค่าสูงมากนับตั้งแต่ เพชร ทับทิม มรกต ลงไปจนถึงราคาถูก เช่น นิลตะโก เป็นต้น ควอรตซ์บางชนิด
เช่น นิลตะโก เป็นต้น ควอรอต์บางชนิด เช่น อะเกต (โมรา-โมกุล)บลัดสโตน เนไฟรต์ กับเจไดต์ หรือ เจด หรือที่เรียกกันว่าหยก และแร่ หรือหินบางชนิดที่มีสีเป็นที่นิยมนำมาทำเป็นเครื่องประดับได้รวมเรียกหินสี (Coloured stone)
การแบ่งรัตนชาติออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆคือ

เพชร (Diamond)
พลอยหรือหินสี (Coloured Stone)
การที่แบ่งรัตนชาติออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆโดยจำแนกเพชรออกจากพลอยหรือหินสี เนื่องจากเหตุผลหลายประการ คือ

เพชรที่มีคุณภาพดีที่สุด มักเกือบไร้สี ขณะที่พลอยคุณภาพดีที่สุดจะมีสีต่างๆ
คุณสมบัติทางกายภาพและทางแสงของเพชร แตกต่างกับพลอยอย่างเห็นได้ชัด
เพชนมีมาตราฐาน คุณภาพ และปริมาณในการกำหนดราคาซื้อขายในตลาด ส่วนพลอยยังไม่สามารถมีมาตราฐานกำหนดให้
แร่มีมากหลายชนิดประมาณ 2,000 กว่าชนิด แต่มีเพียง 90 ชนิด ที่จัดเป็นแร่รัตนชาติ และเพียง 20 ชนิด ที่จัดว่ามีความสำคัญในวงการรัตนชาติ การตรวจรัตนชาติมีขีดจำกัดมากกว่าตรวจแร่ทั่วๆไป เนื่องจากรัตนชาติไม่สามารถที่จะนำมาตรวจโดยการทำลายได้เหมือนกับการตรวจแร่อื่นๆ ดังนั้นวิธีการตรวจรัตนชาติจึงต้องอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ และ เครื่องมือในการตรวจเฉพาะ
ป้ายกำกับ: